วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาที่เกิดจากการทำนา


1.              ปัญหาทั่วไปของการเกิดภัยแล้ง(ขาดแคลนน้ำ)
ปัญหาการเกิดภัยแล้งหรือการขาดแคลนนั้น เกิดจากการไม่มีหรือขาดแคลนน้ำที่มีคุณภาพดี สำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การอุปโภค บริโภค การเกษตร การปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การอุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ เป็นต้น ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำรงชีพของประชาชน

2.              สาเหตุทั่วไปของการเกิดภัยแล้ง(ขาดแคลนน้ำ)
อาจสรุปสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยแล้งได้ดังนี้

2.1 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม โดยในฤดูฝน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ตกน้อย ทิ้งช่วง ไม่กระจายสม่ำเสมอ ทำให้มีน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำน้อย น้ำและความชื้นในดินมีน้อย ในฤดูแล้งอากาศที่ร้อนจัดทำให้การสูญเสียน้ำจากการระเหยมีมาก ทำให้น้ำในแหล่งน้ำลดปริมาณลงจนถึงเหือดแห้งไป
2.2 ความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพและการใช้ทรัพยากรจึงมีมาก ความต้องการน้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ จึงมีมากตามไปด้วย ในขณะที่แหล่งเก็บกักน้ำมีจำกัดไม่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กัน
2.3 แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้น มีน้อยไม่เพียงพอต่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ซึ่งอาจเกิดจาก ข้อจำกัดของภูมิประเทศที่ไม่มีลำน้ำธรรมชาติ หรือไม่เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งน้ำ หรือแหล่งน้ำได้รับการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม มีขนาดเล็กเกินไป ใช้ประโยชน์ได้ไม่เพียงพอ
2.4 แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้นเสื่อมสภาพ ตื้นเขิน ชำรุด ทำให้มีประสิทธิภาพต่ำ เก็บกักน้ำไว้ได้น้อยจนถึงไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้  
การรองน้ำฝนจากหลังคาบ้านเพื่อเก็บเอาไว้ใช้อุปโภคบริโภคไม่สามารถทำได้ เพราะแร่ใยหินที่ใช้ผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเป็นสารก่อมะเร็ง อีกทั้งในเขตเมืองก็จะมีฝุ่นควันจากเครื่องยนต์รถมาก
2.5 การทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ทำให้ไม่มีต้นไม้ที่ทำหน้าที่ดูดซับน้ำฝนลงสู่ใต้ผิวดิน อุ้มน้ำเอาไว้ และยึดดินให้มีความมั่นคง ก็จะขาดแคลนน้ำที่จะถูกปลดปล่อยออกมาสู่ลำธารและลำน้ำในช่วงฤดูแล้ง
2.6 คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น น้ำเค็ม น้ำขุ่น เป็นสนิม สกปรก หรือเน่าเสีย
2.7 การขาดจิตสำนึกในการใช้น้ำและการอนุรักษ์น้ำ  เช่นใช้น้ำไม่ประหยัด ใช้น้ำอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม  การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ ที่พบบ่อย ๆ คือ การลงจับปลาในแหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่น หรือถ้าหากระบายน้ำออกเพื่อจับปลา ก็จะไม่มีน้ำเหลืออยู่อีกต่อไป
2.8 การวางผังเมืองไม่เหมาะสม โดยแบ่งแยกพื้นที่เพื่อการทำกิจกรรมไม่เหมาะสมสอดคล้องกับแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ขาดการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมไว้ล่วงหน้า
2.9 การบริหารจัดการน้ำ ถ้าเกิดความผิดพลาดในการพร่องน้ำระบายน้ำ ทำให้มีน้ำเหลือเก็บกักไว้น้อย
2.10 การพัฒนาแหล่งน้ำที่ไม่เหมาะสม โดยในระยะเวลาช่วงต้นๆ ของการพัฒนาแหล่งน้ำ อาจเน้นเรื่องการเร่งรัดการพัฒนามากเกินไป โดยต้องการสร้างจำนวนที่มาก ใช้งบประมาณน้อยๆ เสร็จเร็วๆ  เป็นการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ทำให้มีแหล่งน้ำจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เช่น ขนาดเล็กเกินไปเก็บกักน้ำได้น้อย บางแห่งอยู่ไกลจากแหล่งชุมชนเกินไป
นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบจากการพัฒนาแหล่งน้ำคือ การก่อสร้างฝายแล้วไม่สร้างประตูระบายทรายไว้ด้วย ทำให้มีตะกอนตกจมด้านหน้าฝายมาก อีกทั้งทำให้ไม่สามารถระบายน้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง ลงไปช่วยพื้นที่ตอนล่างที่อยู่ไกลออกไปที่มีฝายปิดกั้นลำน้ำอยู่เป็นระยะๆได้  เพราะจะต้องระบายน้ำลงไปในปริมาณมาก เพื่อให้ล้นข้ามสันฝายที่มีระดับสูงออกไป เกิดการสูญเสียจากการระเหยรั่วซึม และการไหลบ่าแตกทุ่งออกไปปริมาณสูง ซึ่งหากมีประตูระบายทรายก็จะระบายน้ำลงไปช่วยเหลือปริมาณน้อยๆ ไม่ต้องให้มีน้ำเต็มลำน้ำเพราะเปิดประตูระบายทรายได้

การกำจัดวัชพืช

การใช้สารกำจัดวัชพืช

        สารกำจัดวัชพืชเป็นสารเคมีที่พัฒนาเพื่อใช้ควบคุมวัชพืช ซึ่งย่อมเป็นอันตราย ดังนั้น การใช้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารเคมี วิธีการใช้ ตลอดจนข้อควรระมัดระวัง จึงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
        ประเภทสารกำจัดวัชพืช สารกำจัดวัชพืชสามารถจำแนกได้หลายแบบเพื่อสะดวกในการใช้ ส่วนใหญ่นิยมจำแนกตามช่วงเวลาการใช้ ดังนี้
        1. สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูก เป็นสารเคมีที่ใช้พ่นก่อนการเตรียมดินเพื่อฆ่าวัชพืชที่ขึ้นอยู่ก่อนแล้ว จึงไถเตรียมดินหรือใช้พ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืชเลย สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ พาราควอท ไกลโฟเสต กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม
        2. สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่า ยาคุมหญ้า เป็นสารเคมีที่พ่นหลังปลูกพืช แต่ก่อนวัชพืชงอกในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน 10 วัน เป็นการพ่นลงไปในผิวดินโดยตรง สารเคมีพวกนี้จะเข้าไปทำลายวัชพืชทางส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดิน โดยต้องพ่นในสภาพที่ดินมีความชื้นเหมาะสม และมีการเตรียมดินที่สม่ำเสมอ สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ บิวทาคลอร์ เพรททิลาคลอร์ อ๊อกซาไดอะซอน
        3. สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่า ยาฆ่าหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้พ่นหลังจากวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วในช่วงเวลาเกินกว่า 10 วันขึ้นไป โดยพยายามพ่นให้สัมผัสส่วนของวัชพืชให้มากที่สุด สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ โปรปานิล ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิล 2,4-ดี
การใช้สารกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ ต้องปฏิบัติดังนี้
                - เตรียมดินให้ดี และปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ มีผลกับการให้น้ำซึ่งหลังจากพ่นสารกำจัดวัชพืชแล้วถ้าเอาน้ำเข้าได้ทั่วถึง สารกำจัดวัชพืชจะมีประสิทธิภาพได้เต็มที่
        - การใช้สารกำจัดวัชพืชให้ถูกต้อง ถือหลัก 4 ประการ ดังนี้
  • ใช้ให้ถูกชนิด กับพืชปลูกและชนิดวัชพืชที่สามารถควบคุมได้
  • ใช้ให้ถูกเวลา กับอายุพืชปลูก อายุของวัชพืชและสภาพแวดล้อม
  • ใช้ให้ถูกอัตรา ตามที่กำหนดในฉลากสารกำจัดวัชพืช
  • ใช้ให้ถูกวิธี กับสารกำจัดวัชพืชแต่ละประเภทและสภาพแวดล้อม
         - ก่อนใช้สารกำจัดวัชพืชทุกครั้งต้องอ่านฉลากให้เข้าใจและปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง
         - ควรสวมเสื้อผ้ามิดชิดและมีหน้ากากปิดจมูกป้องกันละอองสารเคมีในขณะพ่น หลังพ่นแล้วควรล้างทำความสะอาดร่างกายให้ดี
          - จัดการน้ำอย่างเหมาะสม โดยหลังพ่นสารกำจัดวัชพืชแล้ว 3 วัน ควรเอาน้ำเข้านา ถ้านานเกินไปจนดินแห้ง จะทำให้ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชลดลง

ตารางที่ 1 สารกำจัดวัชพืชบางชนิดที่ใช้ในนาข้าว
ชื่อสามัญของ
สารกำจัดวัชพืช
ประเภท
สารกำจัดวัชพืช
ชนิดวัชพืชที่ควบคุมได้
เวลาและวิธีการใช้
เพนดิเมทธาลินก่อนและหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้านกสีชมพู  หญ้าดอกขาว  หญ้าตีนนก  หญ้าตีนกา  หญ้าปากควาย ประเภทกก เช่น หนวดปลาดุก 
ประเภทใบกว้าง เช่น เซ่งใบมน  ผักเบี้ยหิน
พ่นทันทีหลังหว่านข้าวแห้งหรือหยอดข้าวไร่  และควรพ่นขณะดินมีความชื้น 
นาหว่านน้ำตม  พ่นระยะ  8 – 12 วัน 
หลังหว่านข้าว  แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน  และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ออกซาไดอะซอนก่อนวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้านกสีชมพู  หญ้าแดง  หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าตีนนก  หญ้าตีนกา  หญ้าตีนติด  หญ้าปากควาย 
ประเภทกก เช่น กกขนาก  กกทราย 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา  ผักเบี้ยหิน ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น
พ่นทันทีหลังหว่านข้าวแห้งหรือ
หยอดข้าวไร่และ ควรพ่นขณะดินมีความชื้น  นาหว่านน้ำตม  พ่นระยะ  4 – 6 วันหลังหว่านข้าว   แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน  และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ออกซาไดอะซอน + 2, 4-ดีก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้านกสีชมพู  หญ้าข้าวนก  หญ้าแดง  หญ้าดอกขาว 
ประเภทกก เช่น กกขนาก  กกทราย  หนวดปลาดุก 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ตาลปัตรฤษี  ผักปอดนา  เทียนนา  ผักบุ้ง  ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น
ประเภทสาหร่าย เช่นสาหร่ายไฟ
พ่นระยะ  6 – 10 วัน หลังหว่านข้าว  แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน  และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
เพรททิลาคลอร์ก่อนวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าแดง 
ประเภทกก เช่น กกขนาก  กกทราย  หนวดปลาดุก 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา
พ่นระยะ  0 – 4 วัน หลังหว่านข้าว 
แล้วไขน้ำเข้านา  7 – 10 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
บิวทาคลอร์ก่อนวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู  หญ้าดอกขาว  ประเภทกก เช่น กกขนาก  หนวดปลาดุก  กกทราย 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด
พ่นระยะ  4 – 6 วัน หลังหว่านข้าว 
แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน  และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
บิวทาคลอร์ + 2, 4-ดีก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว 
ประเภทกก เช่น กกขนาก 
ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น
พ่นระยะ 7-15 วัน หลังหว่านข้าว 
แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน  และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
บิวทาคลอร์ +
โพรพานิล
ก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าแดง 
ประเภทกก เช่น กกทราย  กกขนาก  หนวดปลาดุก 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา  เทียนนา 
ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น
พ่นระยะ  7 – 15 วันหลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ไพราโซซัลฟูรอน – เอทธิลก่อนและหลังวัชพืชงอกประเภทกก เช่น กกขนาก  หนวดปลาดุก 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา
ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น
พ่นระยะ  6 – 20 วันหลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ไดฟลูเฟนิแคน +
โพรพานิล
ก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าแดง 
ประเภทกก เช่น กกขนาก  หนวดปลาดุก  กกทราย 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา
พ่นระยะ  7 วันหลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
เฟนแทรสซามายด์ + โพรพานิลก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู  หญ้าดอกขาว 
ประเภทกก เช่น กกขนาก  กกทราย  หนวดปลาดุก
พ่นระยะ 7 – 10 วันหลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านา  หลังพ่น 3 วันและรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ไธโอเบนคาร์บ +
2, 4-ดี
ก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก
ประเภทกก เช่น กกทราย  กกขนาก  หนวดปลาดุก 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ตาลปัตรฤษี
พ่นระยะ 7 – 15 วันหลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านา  หลังพ่น 3 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ไธโอเบนคาร์บ +
โพรพานิล
ก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าแดง 
ประเภทใบกว้าง เช่น ผักปอดนา
ประเภทเฟิร์น เช่น ผักแว่น
พ่นระยะ 7 – 15 วันหลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านา  หลังพ่น 3 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
อะนิโลฟอสก่อนและหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าแดง
ประเภทกก เช่น กกขนาก  หนวดปลาดุก  กกทราย
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา
พ่นระยะ  4 – 12 วัน หลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านา  หลังพ่น  3 วันและรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
โคลมาโซน +
โพรพานิล
ก่อนวัชพืชงอก + หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว 
ประเภทกก เช่น กกทราย
พ่นระยะ  8 วัน หลังหว่านข้าว
แล้วไขน้ำเข้านา  หลังพ่น  3 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ไซโคลซัลฟามูรอนก่อนและหลังวัชพืชงอกประเภทกก เช่น กกขนาก  หนวดปลาดุก  กกทราย 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา  เทียนนา
พ่นระยะ  8 – 12 วัน หลังหว่านข้าว 
แล้วไขน้ำเข้านา หลังพ่น  3 วันและรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ไซฮาโลฟอพ – บิวทิลหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาวพ่นระยะ  10 วัน หลังหว่านข้าว
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง แล้วไขน้ำเข้านาหลังพ่น 3 วัน และรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ   
ฟีนอกซาพรอพ – พี – เอทธิล + เอทธอกซีซัล
ฟูรอน
หลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่นหญ้าดอกขาว  หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู  หญ้าแดง
ประเภทกก เช่นหนวดปลาดุก  กกทราย  กกขนาก
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ตาลปัตรฤษี  ผักปอดนา  เทียนนา
พ่นระยะ 10 – 15 วัน หลังหว่านข้าว  ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วันและรักษาระดับน้ำให้สม่ำเสมอ 
ฟีนอกซาพรอพ – พี – เอทธิลหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าดอกขาว  หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู  หญ้าแดง  พ่นระยะ 20 – 30 วัน หลังหว่านข้าว  ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วัน
บิสไพริแบก – โซเดียมหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู 
ประเภทกก เช่น กกขนาก  กกทราย  หนวดปลาดุก
ประเภทใบกว้าง เช่น ตาลปัตรฤษี  ขาเขียด  ผักปอดนา
พ่นระยะ 8 – 30 วัน หลังหว่านข้าว
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา หลังพ่น  3 วัน
2, 4-ดี – โซเดียมหลังวัชพืชงอกประเภทกก เช่น กกขนาก  กกทราย  หนวดปลาดุก
ประเภทใบกว้าง เช่น ผักบุ้ง
พ่นระยะ 15 – 20 วัน หลังหว่านข้าว  ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วัน
2, 4-ดี – บิวทิล
– ไอโซบิวทิล
– ไดเมทธิล
แอมโมเนียม
หลังวัชพืชงอกประเภทกก เช่นกกขนาก  แห้วหมู 
ประเภทใบกว้าง เช่น ตาลปัตรฤษี  เทียนนา  ผักบุ้ง  ผักเบี้ยหิน
พ่นระยะ 15 – 30 วัน หลังหว่านข้าว  ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วัน
โพรพานิลหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู  หญ้าดอกขาวพ่นระยะ 15 – 20 วัน หลังหว่านข้าว  ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วัน
โพรพานิล + 2, 4-ดีหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู  หญ้าดอกขาว  หนวดปลาดุก 
ประเภทกก เช่น กกขนาก  กกทราย 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด เทียนนา
พ่นระยะ 20 – 30 วัน หลังหว่านข้าว  ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วัน
เมทซัลฟูรอน – เมทธิล + เบนซัลฟูรอน –
เมทธิล   
หลังวัชพืชงอกประเภทกก เช่นหนวดปลาดุก  กกทราย  กกขนาก 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา  เทียนนา
ประเภทเฟิร์นเช่น ผักแว่น
พ่นระยะ 7 – 15 วัน หลังหว่านข้าว 
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วัน
เมทซัลฟูรอน – เมทธิล + คลอริมูรอน – เอทธิลหลังวัชพืชงอกประเภทกก เช่นหนวดปลาดุก  กกทราย  กกขนาก 
ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด  ผักปอดนา  เทียนนา 
พ่นระยะ  20-30 วัน หลังหว่านข้าว 
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง  และไขน้ำเข้านา
หลังพ่น  3 วัน
ควินคลอแรกหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพูพ่นระยะ  20 วัน หลังหว่านข้าว 
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง 
และไขน้ำเข้านา หลังพ่น  3 วัน
ควิสซาโลฟอพ – พี – เทฟูริลหลังวัชพืชงอกประเภทหญ้า เช่น หญ้าข้าวนก  หญ้าดอกขาว  หญ้าแดงพ่นระยะ  20 วัน หลังหว่านข้าว 
ขณะพ่นต้องไม่มีน้ำขัง 
และไขน้ำเข้านา หลังพ่น  3 วัน

อุปกรณ์ในการทำนา

-:- เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา -:-

เครื่องมือทำนาแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะคล้ายกันในแทบทุกภาค โดยจะแตกต่างกันบ้างในวัสดุที่ทำจากท้องถิ่น การตกแต่งลวดลายและมีชื่อเรียกแตกต่างกัน หรืออาจมีเครื่องมือที่มีลักษณะเฉพาะที่นิยมใช้แต่ในภูมิภาคเท่านั้น เราสามารถแบ่งเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาออกเป็นเครื่องมือพื้นบ้านและเครื่องมือแบบสมัยใหม่
    
 1.เครื่องมือพื้นบ้าน
      เครื่องมือในระยะก่อนการเพาะปลูก 
     ไถเครื่องมือที่ใช้พรวนดินก่อนการปลูกข้าว กลับหน้าดินเพื่อทำให้ดินร่วนซุย ไถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไถวัว ซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานวัวและไถควายซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานควายไถ
     แอกเครื่องมือที่ใช้สำหรับสวมคอควายเพื่อที่จะไถ แอกมี
2 ชนิดคือแอกวัวควายคู่กับแอกควายเดี่ยว
     คราดเครื่องมือที่ใช้สำหรับคราดดินให้ร่วนซุย คราดมี 2 ชนิดคือ คราดวัวควายคู่และคราดควายเดี่ยว
     จอบเครื่องมือสำหรับดายหญ้า พรวนดิน และเตรียมดิน
     ก๋วยกล้าเครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่กำกล้าหรือขนย้ายสิ่งของ มักใช้ทางภาคเหนือ
     ตอกเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับตอกมัดฟ่อนหรือกำ
กล้า มีอยู่ 2 ชนิด คือตอกมัดฟ่อนข้าวกับตอกมัดกำกล้า
     ไม้
     หาบกล้า
(บางถิ่นเรียก คันหลาว) ใช้หาบต้นกล้าเพื่อนำไปปักดำ
     ม้าหาบ
     ข้าว
ใช้ในการเรียงต้นกล้าหรือฟ่อนข้าวในคันหลาว
      เครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยว 
     เคียวเครื่องมือเกี่ยวข้าวมีรูปโค้ง 2 ชนิด คือเคียวงอกับเคียวลา
     แกระ/
     แกะ
เครื่องมือเกี่ยวข้าวที่ใช้เก็บรวงข้าว นิยมใช้ในภาคใต้
     คันหลาวใช้หาบฟ่อนข้าวจากนาไปลานนวด หรือใช้หาบกำกล้าไปปักดำ
     ไม้หนีบใช้หนีบฟ่อนข้าวเพื่อยกข้าวฟาดลงบนลานหรือไม้รองใน
     ไม้ฟาด
     ข้าว
การนวดข้าว ใช้มากทางภาค
อีสานม้ารองนวดข้าว
     ม้ารอง
     นวดข้าว
เอาไว้ใช้สำหรับรองรับฟ่อนข้าวเพื่อนวดหรือฟาดเพื่อตี เมล็ดข้าวจะได้หลุดร่วง
     ไม้ข้าว
     นวดสน
ใช้วางคันหลาวเพื่อนวดข้าว ใช้ไม้นวดสนุตีข้าวที่เหลืออยู่
ในมัดฟาง
     ฟอย
     หนาม
ใช้กวาดเศษฝุ่นและเศษฟางออกจากกองข้าว
     พัดวีใช้สำหรับพัดฝุ่นผงและข้าวลีบให้ออกจากกอข้าวเปลือก
     คราดใช้คราดกวาดขยะมูลฝอยและเกลี่ยดินเพื่อทำลานนวดข้าว
     ตะกร้าเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร ตักตวงข้าวหรือใส่สิ่งของอื่น ๆ

 เครื่องมือในการแปรรูปข้าว


ครกซ้อมมือใช้สำหรับตำข้าวเปลือก จากข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง จากข้าวกล้องเป็นข้าวสาร
ครกกระเดื่องใช้ตำขาวโดยใช้ปลายเท้าเหยียบกระเดื่องให้สากกระดกขึ้นลง
กระด้งใช้ฝัดร่อนข้าวเอาเศษผงฝุ่นแกลบออกจากเมล็ดข้าว
ตะแกรงใช้สำหรับร่อนแยกเศษฟางออกจากเมล็ดข้าว

2.เครื่องมือทำนาแบบสมัยใหม่
 เครื่องมือเครื่องใช้ในระยะเตรียมดิน
รถไถนาใช้ได้ทั้งเตรียมดินนาหว่านและนาดำและคราด
รถแทรกเตอร์ เครื่องเตรียมดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่หรือหักร้างถางพง
เครื่องปักดำใช้แทนการปักดำด้วยแรงงานคน เครื่องมือชนิดนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
เครื่องสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำเข้านาโดยใช้เครื่องยนต์หรือไฟฟ้าเป็นแรง
หมุนมอเตอร์สูบจากแม่น้ำ คลองชลประทานมาใช้ในนา
  
 เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกี่ยวข้าว
รถเกี่ยวและนวดข้าวใช้สำหรับเกี่ยวและนวดข้าวไปพร้อมๆ กัน เป็น
รถแบบตีนตะขาบวิ่งได้ในนาที่มีพื้นที่เรียบ
เครื่องนวดข้าวใช้เครื่องยนต์ในการนวดข้าวให้ย่อยจากรวงเป็นเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อต้องการนวดข้าว ก็เอาเครื่องยนต์จากรถไถนาเดิมมาหมุนตามเครื่องนวดและสามารถใช้กระสอบหรือผืนผ้าใบมารองรับเมล็ดจากเครื่อง
  
 เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าว

เครื่องสีข้าว

เครื่องสีข้าวใช้สำหรับสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารและออกมาเป็นแกลบและรำ

ผลผลิตจากการทำนา

การทำนาข้าวให้ได้ผลผลิตสูงสุด



การให้ปุ๋ย และเตรียมดินอย่างถูกวิธี จะทำให้ผลผลิตของข้าวเกิน 100 ถังต่อไร่ 
การปลูกข้าวกลุ่มไม่ไวแสง(อายุข้าว 100 วัน) ในที่นาดินเหนียว ตามหลักวิชาการแล้ว เกษตรกรควรให้ปุ๋ยต่างๆ ตามระยะดังนี้
-ครั้งแรก ช่วงข้าวอายุ 20-30 วัน ควรให้ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ทั้งนี้กลุ่มไนโตรเจนจะกระตุ้นให้ข้าวเจริญเติบโต และฟอสฟอรัส ในปุ๋ยจะกระตุ้นให้ข้าวมีการแตกกอมากขึ้น ในอัตรา 15-25 กิโลกรัม/ไร่
-ครั้งที่ 2 ข้าวอายุ 2 เดือน (ก่อนตั้งท้อง) ควรให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน 46-0-0 หรือ 30-0-0 เพื่อให้ข้าวใช้เป็นแหล่งอาหารสะสมในการสร้างรวง ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่
-ครั้งที่ 3 ข้าวออกรวง ช่วง หางปลาทู ควรให้ปุ๋ย กลุ่มไนโตรเจน 46-0-0 หรือ 30-0-0 เพื่อให้ข้าวเมล็ดเต็ม ลดเม็ดลีบลง ในอัตรา 10-15 กิโลกรัม/ไร่
แต่ในทางปฏิบัตินั้น เกษตรกรทราบดีว่า การให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน ในช่วงข้าวตั้งท้องและออกรวง เหมือนเป็นดาบสองคม เพราะการให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนจะทำให้ลำต้นอวบน้ำ และผนังเซลบาง ทำให้โรคและแมลงเข้าทำลาย ต้นข้าว แทนที่จะได้ผลผลิตสูงขึ้น อาจจะกลายเป็นผลผลิตลดลง หรือ อาจทำให้ต้นข้าวตายหากการควบคุม โรคและแมลง ไม่กระทำอย่างรัดกุม ทางออกของปัญหาดังกล่าวคือการให้แอ๊กทีฟซิลิกอนกับต้นข้าวด้วย เพราะหลังจากได้รับแอ๊กทีฟซิลิกอน ต้นข้าวจะแข็งแรง ผนังเซลหนา ทำให้ เกษตรกรให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน โดยไม่ทำอันตรายต่อต้นข้าว โดยเกษตรกร สามารถ ใช้แอ๊กทีฟซิลิกอนร่วมกับปุ๋ย ได้ดังนี้ 
 1.เกษตรกร ควรใส่ปุ๋ยปรับปรุงดิน ที่มีอินทรีย์วัตถุสูงๆ หรือปุ๋ยอินทรีย์ ในช่วงเตรียมพื้นนา ในอัตรา 15-25 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อให้ดินอุ้มน้ำ และระบายกากาศได้ดี ประกอบกับปุ๋ยกลุ่ม อินทรีย์ ต้องใช้เวลาการย่อยสลาย จึงต้องเริ่มหมักไว้ก่อนปุ๋ยตัวอื่น

 2.ฉีดพ่น แอ๊กทีฟซิลิกอน อัตรา 50-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ครั้งแรกหลังใช้ยาฆ่าหญ้า หรือ เมื้อข้าวอายุ 20 วัน ในกรณี นาดำ ให้ใช้ แอ๊กทีฟซิลิกอน อัตรา 20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร รดกล้าก่อนการปักดำ 2-3 วัน
3.เมื่อข้าวอายุ 1 เดือน ให้ปุ๋ย  สูตร 16-20-0 ผสมกับ 46-0-0 ในอัตราส่วน 2:1 โดยหว่านในอัตรา 20-30 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยสูตร 16-20-0 มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแตกกอ และสร้างระบบรากที่ดีให้กับข้าว
4. หลังการหว่านปุ๋ยครั้งแรก ฉีดพ่นแอ๊กทีฟซิลิกอน อัตรา 100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับต้นข้าว ซึ่งอาจมีโรคและแมลงเข้าทำลายจากการให้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จากนั้น อีก  2 อาทิตย์ให้ฉีดพ่นแอ็กทีฟ ซิลิกอน อีกครั้งในอัตรา 150 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เพื่อเสริมปริมาณซิลิกอนในต้นข้าวให้เพียงพอ ก่อนให้ปุ๋ยครั้งต่อไป เกษตรกรควรหมั่นสังเกตุดูการระบาดของแมลง ซึ่งจะเห็นปริมาณแมลงเจาะน้ำเลี้ยงลดลงอย่างเห็นได้ชัด
5. ก่อนข้าวตั้งท้อง 1 อาทิตย์ (อายุข้าวประมาณ 50-70 วัน) เกษตรกรควรสังเกตุดูความแข็งแรงของต้นข้าว กลุ่มที่ได้รับแอ๊กทีฟซิลิกอนจะมีใบแข็ง กาบใบแข็ง ซึ่งเป็นสภาพที่สามารถให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนได้ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยสูตร 30-0-0 หรือ 46-0-0 ในอัตรา 15-25 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อให้ต้นข้าว มีปริมาณสารอาหารสะสมมากพอ ในการสร้างรวงและเมล็ด การให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 นี้ ถ้าโครงสร้างของต้นข้าวไม่แข็งแรง จะทำให้ใบตก จนเป็นเป้าทำลายของโรค และแมลง 
           การให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 นี้ มีความสำคัญมากกับผลผลิตข้าวที่ได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากผลผลิตต่อไร่ที่สูง ข้าวจะต้องมีจำนวนเมล็ดต่อรวงมาก ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดจำนวนเมล็ดต่อรวงของข้าว ก็คือความสมบูรณ์ ของสารอาหารต่างๆในต้นข้าว ก่อนที่ต้นข้าวจะท้อง(ต้นกลม) นั้นคือปุ๋ยหรือธาตุอาหารต่างๆ จะต้องให้กับพืชก่อนที่ข้าวจะตั้งท้อง เพราะเมื่อข้าวต้นกลมแล้วเหมือนต้นข้าวได้ถูกโปรแกรมไปแล้วว่าจะมีจำนวนเมล็ดต่อรวงเท่าไร  การให้ปุ๋ยไปจะไม่สามารถเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวงได้ เพียงแต่เพิ่มน้ำหนักต่อเมล็ด และลดจำนวนเมล็ดลีบลงเท่านนั้น ฉะนั้นเกษตรกรทราบอายุช่วงที่ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง ของสายพันธ์ที่ปลูก หรือโดยทั่วไป อาจประเมินได้ว่า ข้าวจะเริ่มตั้งท้องก่อนวันที่เก็บเกี่ยว 40 วัน และต้องระลึกว่า ต้องหว่านปุ๋ยก่อนข้าวตั้งท้องอย่างน้อย 7 วัน
6.หลังจากหว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 ให้เกษตรกร ฉีดแอ๊กทีฟซิลิกอน อีกครั้ง ในอัตรา 250-300 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้เพื่อให้ต้นข้าวมีผนังเซลที่หนาขึ้น และกระตุ้นการสังเคราะห์แสง เพราะการสังเคราะห์แสงที่มาก จะทำให้ ระบบรากดูดอาหารมากขึ้นด้วย เพื่อให้ข้าวใช้ปุ๋ย อย่างมีประสิทธิภาพ
7.เกษตรกร ควรสังเกตุ โรคและแมลง ต่างๆ ภายในแปลงนา โดยปกติ ข้าวที่มีปริมาณซิลิกอนสะสม ในลำต้นมากพอ โรคกลุ่มที่เกิดจากเชื้อราจะน้อยมาก และปริมาณเแมลงในนาจะน้อยลง หากแต่ว่าในพื้นที่ ที่มีการระบาดของแมลง อาจต้องใช้ ยาฆ่าแมลงช่วยกำจัด 
8.หลังจากข้าวออกรวงแล้วกำลังสร้างแป้ง เกษตรกรควรให้ปุ๋ยอีก ครั้งที่3 ให้ใส่ ยูเรีย หรือ 30-0-0 ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ลักษณะการให้ครั้งนี้ เกษตรกรควหว่านปุ๋ยบางๆ และอาจจะให้ปริมาณมากหน่อย ในบริเวณที่ต้นข้าวไม่สมบูรณ์ เพื่อเพิ่มน้ำหนักเมล็ด หรือหากต้นข้าวสภาพสมบูรณ์ดี สม่ำเสมอทั่วทั้งนา เกษตรกรอาจ งดให้ปุ๋ยครั้งที่ 3 ก็ได้
9. หลังให้ปุ๋ยครั้งที่ 3 หรือก่อนระยะเก็บเกี่ยว 20 วัน เกษตรกร ควรฉีด แอ๊กทีฟซิลิกอน อีกครั้ง ในอัตรา 200 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้เนื่องจาก แอ๊กทีฟซิลิกอน มีส่วนผสมของโปแตสเซียมไอออน ซึ่งช่วยกระตุ้นการสร้างแป้ง การฉีดแอ็กทีฟซิลิกอนที่ระยะนี้จะทำให้เมล็ดใส และลดปริมาณท้องไข่ในเมล็ดข้าว

พื้นที่การทำนา

การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดย นายประพาส วีระแพทย์ 
          ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม  ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกสิกร  ทำการเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว  ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ทำการปลูกไม้ผล  เช่น ทุเรียน ส้ม มะม่วง มังคุด ลางสาด นอกจากนี้ ในท้องที่ต่าง ๆ  ของภาคใต้และจังหวัดระยอง  จันทบุรี  ตราด ได้ทำการปลูกยางพาราอีกด้วย ในจำนวนพืชที่กสิกรปลูกดังกล่าวนี้ ข้าวมีพื้นที่ปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ  ๑๑.๓% ของพื้นที่ทั่วประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีพื้นที่ทำนามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ภาคเหนือและภาคใต้ตามลำดับ จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในตารางที่ ๑
          เนื่องจากประชาชนในประเทศไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก และจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ  ปี  ด้วยเหตุนี้ ชาวนาจึงจำเป็นต้องพยายามปลูกข้าวให้ได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของประชากร วิธีหนึ่งที่ชาวนาได้พยายามเพื่อเพิ่มผลิตผล ได้แก่ การขยายพื้นที่ทำนา โดยเปิดป่าใหม่ทำนาปลูกข้าว  จากตารางที่  ๓ จะเห็นได้ว่าผลิตผลได้เพิ่มขึ้นตามพื้นที่นาที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ส่วนวิธีการเพิ่มผลิตผลโดยวิธีอื่นนั้น ชาวนาไม่สามารถทำได้ เช่น  การคัดเลือกหาพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลิตผลสูง พันธุ์ต้านทานโรคและแมลง ข้าวพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ย วิธีการป้องกันกำจัดโรค แมลง และวัชพืชในนาข้าว  ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือชาวนา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้โดยตรง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          ข้าวที่ปลูกเพื่อการบริโภคเป็นอาหารมี  ๒ ชนิด   คือ ออไรซา  ซาไทวา ซึ่งมีปลูกทั่วไปในทุกประเทศ และออไรซา แกลเบอร์ริมา ซึ่งมีปลูกเฉพาะในแอฟริกาเท่านั้น ข้าวสองชนิดนี้แตกต่างกันที่ ออไรซา  แกลเบอร์ริมาไม่มีแขนงที่สองที่รวงข้าว และมีเยื่อกันน้ำฝนสั้นกว่าออไรซา  ซาไทวาด้วย  ข้าวพวกออไรซา  ซาไทวา  ยังแยกออกได้เป็นอินดิคา มีปลูกมากในเขตร้อน และจาปอนิคา มีปลูกมากในเขตอบอุ่น  ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวกอินดิคา ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเจ้า  และข้าวเหนียว

ตารางที่ ๓ เนื้อที่เพาะปลูกและจำนวนผลิตผลข้าวเปลือกในประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๗
พ.ศ.
เนื้อที่เพาะปลูก
(ล้านไร่)
จำนวนผลิตผลข้าวเปลือก
(ล้านตัน)
ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
(กิโลกรัม)
๒๕๒๐–๒๕๒๑
๒๕๒๑–๒๕๒๒
๒๕๒๒–๒๕๒๓
๒๕๒๓–๒๕๒๔
๒๕๒๔–๒๕๒๕
๒๕๒๕–๒๕๒๖
๒๕๒๖–๒๕๒๗
๕๖.๔
๖๒.๗
๕๙.๑
๖๐.๑
๖๐.๑
๖๐.๑
๖๒.๖
๑๓.๙
๑๗.๕
๑๕.๘
๑๗.๔
๑๗.๘
๑๖.๙
๑๙.๖
๒๕๕
๓๑๓
๒๙๑
๓๐๒
๓๑๒
๓๐๒
๓๒๖

 รวบรวมจากเอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ ๒๑๓ พ.ศ.๒๕๒๗ 
ลักษณะรวงข้าวชนิดออไรซา แกลเบอร์ริมา

พื้นที่ปลูกข้าว

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ
ภาคเหนือ 
          ทำการปลูกข้าวนาสวนในที่ราบระหว่างภูเขากันเป็นส่วนใหญ่  เพราะมีระดับน้ำในนาตื้นกว่า ๘๐ เซนติเมตร และทำการปลูกข้าวไร่ในที่ดอน  และที่สูงบนภูเขา  เพราะไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก  ส่วนมากชนิดของข้าวที่ปลูกเป็นทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า  และในบางท้องที่มีการปลูกข้าวนาปรังด้วย แมลง  ศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่ แมลงบั่ว หนอนกอ เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและสีน้ำตาล และโรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีแสด และโรคถอดฝักดาบ  ภาคนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินนาดีกว่าภาคอื่น ๆ  ข้าวนาปีทำการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
          สภาพของพื้นนาในภาคนี้เป็นที่ราบ และมักจะแห้งแล้งในฤดูปลูกข้าวเสมอ ๆ ชาวนาทำการปลูกข้าวนาสวน ทางตอนเหนือของภาคปลูกข้าวเหนียวอายุเบา  ส่วนทางตอนใต้ปลูกข้าวเจ้าอายุหนักแถบริมฝั่งแม่น้ำโขง  โดยเฉพาะในเขตจังหวัดอุบลราชธานี  นครพนมและสกลนครได้มีแมลงบั่วทำลายต้นข้าวนาปีจนเสียหายเสมอ นอกจากนี้  ได้มีแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดด้วย  โรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่  โรคไหม้  โรคขอบใบแห้ง  และโรคใบจุดสีน้ำตาล ความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคนี้เลวมาก บางแห่งก็เป็นดินเกลือและมักจะมีความแห้งแล้งกว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการทำนาปรังน้อยมาก  ข้าวนาปีจะทำการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ภาคกลาง 
          พื้นที่ทำนาในภาคนี้เป็นที่ราบลุ่มทำการปลูกข้าวเจ้ากันเป็นส่วนใหญ่  ในเขตจังหวัดปทุมธานี  อยุธยา  อ่างทอง สิงห์บุรี  อุทัยธานี  นครสวรรค์  พิจิตร  พิษณุโลก  สุพรรณบุรี และปราจีนบุรี  ระดับน้ำในนาระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายน  จะลึกประมาณ  ๑-๓ เมตร ด้วยเหตุนี้  ชาวนาในจังหวัดดังกล่าวจึงต้องปลูกข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ  นอกนั้น  ปลูกข้าวนาสวน และบางท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน  เช่น  จังหวัดนนทบุรี  นครปฐม เพชรบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท และฉะเชิงเทรา ได้มีการทำนาปรังด้วย  โรคข้าวที่สำคัญ  ได้แก่  โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม โรคจู๋  และแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ  ได้แก่ แมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  แมลงเพลี้ยจักจั่นสีเขียว  แมลงหนอนกอ  ความอุดมสมบูรณ์ของดินดีปานกลางและบางท้องที่เขตจังหวัดปทุมธานี  นครนายก และปราจีนบุรี  ดินที่ปลูกข้าวมีฤทธิ์เป็นกรดหรือ เป็นดินเหนียวมากกว่าในท้องที่นาอื่น ๆ ข้าวนาปีที่ปลูกเป็นข้าวนาสวน  จะเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม ส่วนข้าวนาปีที่ปลูกเป็นข้าวนาเมืองเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนธันวาคมและมกราคม
[กลับหัวข้อหลัก]
การทำนาในที่ลุ่มภาคกลาง

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ภาคใต้ 
          สภาพพื้นที่ที่ปลูกข้าวในภาคใต้เป็นที่ราบริมทะเล และเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนในการทำนา ทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนเร็วกว่าทางฝั่งตะวันออก และฝนจะมาล่าช้ากว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ การทำนาในภาคใต้จึงล่าช้ากว่าภาคอื่น ชาวนาในภาคนี้ ปลูกข้าวเจ้าในฤดูนาปีกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยในเขตชลประทานของจังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง และสงขลา มีการปลูกข้าวนาปรังและปลูกแบบนาสวน  บริเวณพื้นที่ดอนและที่สูงบนภูเขาชาวนาปลูกข้าวไร่  เช่น การปลูกข้าวไร่เป็นพืชแซมยางพารา แมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่  หนอนกอ  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  โรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้  โรคขอบใบแห้ง โรคดอกกระถิน โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบจุดขีดสีน้ำตาล นอกจากนี้  ดินนาก็มีปัญหาเกี่ยวกับดินเค็มและดินเปรี้ยวด้วย  วิธีการเกี่ยวข้าวในภาคใต้แตกต่างไปจากภาคอื่น เพราะ ชาวนาใช้แกระเกี่ยวข้าวโดยเก็บทีละรวงแล้วมัดเป็นกำ ๆ ปกติทำการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนพฤศจิกายน และกุมภาพันธ์
[กลับหัวข้อหลัก]
การเกี่ยวข้าวด้วยแกระ

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการทำนา

วิธีทำนาแบบต่างๆ

การทำนาข้าว หมายถึง การปลูกข้าว การปลูกข้าวในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น ๓ วิธีด้วยกัน ดังนี้


1.ข้าวไร่
การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกก็เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขามักจะไม่มีระดับ คือ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูกแล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ ๓ เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างประมาณ ๑ นิ้ว หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ ๒๕ x ๒๕ เซนติเมตร ระหว่างแถวและระหว่างหลุมภายในแถว ปกติจะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีหลังจากที่ได้เจาะหลุม โดยหยอด ๕-๘ เมล็ดต่อหลุม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วก็ใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน ก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน การปลูกข้าวไร่ ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย และมีปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

2.ข้าวนาดำ
การปลูกข้าวในนาดำ เรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้าเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า indirect seeding ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

2.1การเตรียมดิน
การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวแบบปักดำ ต้องทำการเตรียมดินดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัว ควาย หรือแทร็กเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่าควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำนั้นได้มีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ขนาดแปลงละ ๑ ไร่หรือเล็กกว่านี้ คันนามีไว้สำหรับกักเก็บน้ำ หรือปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะทำการไถจะต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อน ปกติจะต้องรอให้ฝนตกจนมีน้ำขังในผืนนา หรือไขน้ำเข้าไปในนาเพื่อทำให้ดินเปียก

2.2 การตกกล้าการตกกล้า หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอก และเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า เพื่อเอาไปปักดำ การตกกล้าสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันคือ
2.21 การตกกล้าในดินเปียก
การตกกล้าในดินเปียก จะต้องเลือกหาพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดีเป็นพิเศษ สามารถป้องกันนกและหนูที่จะเข้าทำลายต้นกล้าได้เป็นอย่างดี และมีน้ำพอเพียงกับความต้องการ การเตรียมดินก็มีการไถดะ ไถแปร และคราด ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ต้องยกเป็นแปลงสูงกว่าระดับน้ำในผืนนานั้นประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เมล็ดที่หว่านลงไปจมน้ำและดินนั้นเปียกชุ่มอยู่เสมอด้วย จะเป็นการดียิ่งขึ้นถ้าแปลงนี้ได้แบ่งออกเป็นแปลงย่อยขนาดกว้าง ๕๐ เซนติเมตร และมีความยาวขนานไปกับทิศทางลม ระหว่างแปลงเว้นช่องว่างไว้สำหรับเดินประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นกล้าถูกทำลายโดยโรคไหม้หรือแมลงบางชนิด เมล็ดพันธุ์ที่เอามาตากกล้าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จะต้องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์เสียก่อน โดยแยกเอามาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ และเอาเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าปกติทิ้งไปเอาเมล็ดที่ต้องการตกกล้าใส่ถุงผ้าไปแช่ในน้ำนาน ๑๒-๒๔ ชั่วโมง แล้วเอาขึ้นมาวางไว้บนแผ่นกระดานในที่ที่มีลมถ่ายเทได้สะดวก และเอาผ้าหรือกระสอบเปียกน้ำคลุมไว้นาน ๓๖-๔๘ ชั่วโมง ซึ่งเรียกว่าการหุ้ม หลังจากที่ได้หุ้มเมล็ดไว้ครบ ๓๖-๔๘ ชั่วโมงแล้ว เมล็ดข้าวก็จะงอก จึงเอาไปหว่านลงบนแปลงกล้าที่ได้เตรียมไว้ ก่อนที่จะหว่านเมล็ดลงบนแปลงกล้า ควรใส่ปุ๋ยพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเสียก่อน และใช้ไม้กระดานลูบแปลงเพื่อกลบปุ๋ยลงไปในดิน หากดินดีอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ปกติใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน ๔๐-๕๐ กิโลกรัมต่อเนื้อที่แปลงกล้าหนึ่งไร่ เมื่อต้นกล้ามีอายุครบ ๒๕-๓๐ วัน นับจากวันหว่านเมล็ด ต้นกล้าก็จะมีขนาดโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ การตกกล้าแบบนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในการทำนาดำในประเทศไทย

2.22 การตกกล้าในดินแห้ง
การตกกล้าในดินแห้ง ในกรณีที่ชาวนาไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการตกกล้าในดินเปียก ชาวนาอาจทำการตกกล้าบนที่ดินซึ่งไม่มีน้ำขัง โดยเอาเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่ยังไม่ได้เพาะให้งอก ไปโรยไว้ในแถวที่เปิดเป็นร่องเล็ก ๆ ขนาดแถวยาวประมาณ ๑ เมตร จำนวนหลายแถว แล้วกลบด้วยดินเพื่อป้องกันนกและหนู หลังจากนั้นก็รดน้ำแบบรดน้ำผักวันละ ๒ ครั้ง เมล็ดก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้นกล้าเหมือนกับการตกกล้าในดินเปียก ปกติใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน ๗-๑๐ กรัมต่อหนึ่งแถวที่มีความยาว ๑ เมตร และแถวห่างกันประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินแล้ว ควรหว่านปุ๋ยพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสลงไปด้วย

2.23 การตกกล้าแบบดาปกการตกกล้าแบบดาปก การตกกล้าแบบนี้เป็นที่นิยมทำกันมาก ในประเทศฟิลิปปินส์ ขั้นแรกทำการเตรียมพื้นที่ดินเหมือนกับการ ตกกล้าในดินเปียก แล้วยกเป็นแปลงสูงกว่าระดับน้ำ ๕-๑๐ เซนติเมตร หรือใช้พื้นที่ดอนเรียบหรือเป็นพื้นคอนกรีต ก็ได้ แล้วใช้กาบของต้นกล้วยต่อกันเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑ เมตร และยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ต่อจากนั้นเอาใบกล้วยที่ไม่มีก้านกลางวางเรียงเพื่อปู เป็นพื้นที่ในกรอบนั้น ให้เอาด้านล่างของใบหงายขึ้นและไม่ให้มีรอยแตกของใบ เพราะฉะนั้นใบกล้วยที่ปูพื้นนั้นจะต้องวางซ้อนกันเป็นทอด ๆ แล้วเอา เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งได้เพาะให้งอกแต่ยังไม่มีรากโผล่ ออกมาโรยลงไปในกรอบที่เตรียมไว ้นี้ ใช้เมล็ดพันธุ์หนัก ๓ กิโลกรัมต่อเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ที่โรยลงไปในกรอบ จะซ้อนกันเป็น ๒-๓ ชั้น หลังจากโรยเมล็ดแล้ว จะต้องใช้บัวรดน้ำชนิดรูเล็กมาก รดลงในกรอบที่โรยเมล็ดนี้วันละ ๒-๓ ครั้ง ในที่สุดเมล็ดก็จะงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า ข้อสำคัญในการตกกล้าแบบนี้ คือ ต้องไม่ให้น้ำท่วมแปลงกล้า ต้นกล้าแบบนี้อายุประมาณ ๑๐-๑๔ วัน ก็พร้อมที่ใช้ปักดำได้หรือจะเอาไปปักดำกอละหลาย ๆ ต้น ซึ่งเรียกว่า ซิมกล้า เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งและโตสำหรับปักดำจริง ๆ ซึ่งนิยมทำกันมากในภาคเหนือของประเทศไทย การที่จะเอาต้นกล้าไปปักดำ ไม่จำเป็นต้องถอนต้นกล้าเหมือนกับวิธีอื่น ๆ เพราะรากของต้นกล้าเกาะกันแน่นระหว่างต้น และรากก็ไม่ได้ทะลุใบกล้วยลงไปในดิน ฉะนั้นชาวนาจึงทำการม้วนใบกล้วยแบบม้วนเสื่อ โดยมีต้นกล้าอยู่ภายในการม้วนก็ ควรม้วนหลวม ๆ แล้วขนไปยังแปลงนาที่จะปักดำ

2.3 ปักดำ
การปักดำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ ๒๕-๓๐ วัน จากการตกกล้าในดินเปียกหรือการตกกล้าในดินแห้ง ก็จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าแบบดาปกนั้น ในเมืองไทยยังไม่เคยปฏิบัติ คิดว่าจะต้องมีอายุประมาณ ๒๐ วัน จึงเอาไปปักดำได้ เพราะต้นกล้าขนาด ๑๐-๑๔ วันนั้น อาจมีขนาดเล็กเกินไปที่จะใช้ปักดำในพื้นที่นาของเรา ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัด ๆ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้ง สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียก จะต้องสลัดเอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วย แล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้ในเมื่อนานั้นไม่มีน้ำอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนานั้นลึกมาก ต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และทำให้ต้นข้าวจะต้องยึดต้นมากกว่าปกติ จนมีผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่จะให้ได้ผลผลิตสูง จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร โดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้าจำนวน ๓-๔ ต้นต่อกอ ระยะปลูกหรือปักดำ ๒๕ x ๒๕ เซนติเมตร ระหว่างกอและระหว่างแถว


3.ข้าวนาหว่าน
การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงไปในพื้นที่นาที่ได้ไถเตรียมดินไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า direct seeding การเตรียมดินก็มีการไถดะและไถแปร ปกติชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีค้นนากั้น จึงสะดวกแก่การไถด้วยรถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวนาจำนวนมากที่ใช้ แรงวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านน้ำตม


หลังจากทำการปลูกข้าวแล้ว ยังมีขั้นตอนอื่นๆที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
การดูแลรักษาต้นข้าว
ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำ ต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระยะนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้ามาทำลายต้นข้าว โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตาย หรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้ว จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาที่ดีอีกด้วย ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆ ในแปลงที่ปลูกข้าวไร่ จะต้องมีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย และพ่นยาเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้ ในแปลงกล้าและแปลงปักดำ จะต้องมีการใส่ปุ๋ย มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของต้นข้าว และพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว นอกจากนี้ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว ในพื้นที่นาหว่าน ชาวนาจะต้องกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีพ่น หรือใช้แรงคนถอนทิ้งไปก็ได้ นอกจากนี้จะต้องพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงอีกด้วย เนื่องจากพื้นที่นาหว่านมักจะมีระดับน้ำลึกกว่านาดำ ฉะนั้น ชาวนาควรใส่ปุ๋ยก่อนที่น้ำจะลึก ยกเว้นในพื้นที่ที่น้ำไม่ลึกมาก ก็ให้ใส่ปุ๋ยแบบนาดำทั่ว ๆ ไป

การเก็บเกี่ยวข้าว
เมื่อดอกข้าวได้บานและมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ ภายในที่ห่อหุ้มด้วย lemma และ palea ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว ในสัปดาห์ที่สองแป้งเหลวนั้นก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็ง และในสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัวมากยิ่งขึ้นเป็นรูปร่างของเมล็ดข้าวกล้อง แต่มันจะแก่เก็บเกี่ยวได้ ในสัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสร จึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เมล็ดข้าวจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ชาวนาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวทีละหลาย ๆ รวง ส่วนชาวนาในภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียววงกว้าง ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนซึ่งได้ปลูกไว้แบบปักดำ แต่ถ้าผู้ใช้มีความชำนาญก็อาจเอาไปใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองก็ได้ ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมือง ซึ่งได้ปลูกไว้แบบหว่าน ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวที่เกี่ยวมาจะถูกรวบมัดเป็นกำ ๆ ส่วนข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะชาวนาต้องเกี่ยวเฉพาะรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำๆ ข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขาย หรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาจนหมดซัง เพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา ๓-๕ วัน สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กันเป็นเวลา ๕-๗ วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงขนมาที่ลานสำหรับนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้

การนวดข้าว
การนวดข้าว หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง แล้วทำความสะอาดเพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางข้าวออกไป เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือกที่ต้องการเท่านั้น ขั้นแรกจะต้องขนข้าวที่เกี่ยวจากนาไปกองไว้บนลานสำหรับนวด การกองข้าวสำหรับนวดก็มีหลายวิธี แต่หลักสำคัญมีอยู่ว่าการกองจะต้องเป็นระเบียบ ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวจะอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและคุณภาพต่ำ ปกติจะกองไว้เป็นรูปวงกลมชาวนามักจะนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา ๕-๗ วัน ซึ่งเมล็ดข้าวเปลือกมีความชื้นประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดที่ได้เกี่ยวมาใหม่ ๆ จะมีความชื้นประมาณ ๒๐-๒๕% การนวดข้าวก็ใช้แรงสัตว์ เช่น วัว ควาย ขึ้นไปเหยียบย่ำเพื่อขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าว รวงข้าวที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว เรียกว่า ฟางข้าว ที่กล่าวนี้เป็นวิธีหนึ่งของการนวดข้าว ซึ่งที่จริงแล้วการนวดข้าวมีหลายวิธี เช่น การนวดแบบฟาดกำข้าว การนวดแบบใช้คำย่ำ การนวดแบบใช้ควายย่ำ การนวดโดยใช้เครื่องทุ่นแรงย่ำ

การทำความสะอาดเมล็ดข้าว
การทำความสะอาดเมล็ดข้าวหมายถึง การเอาข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่น ๆ ซึ่งทำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
๑. การสาดข้าว ใช้พลั่วสาดเมล็ดข้าวขึ้นไปในอากาศ เพื่อให้ลมที่ได้จากการกระพือพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป ส่วนเมล็ดข้าวเปลือกที่ดีก็จะตกมารวมกันเป็นกองที่พื้น
๒. การใช้กระด้งฝัด โดยใช้กระด้งแยกเมล็ดข้าวดีและสิ่งเจือปนให้อยู่คนละด้านของกระด้ง แล้วฝัดเอาสิ่งเจือปนทิ้ง วิธีนี้ใช้กับข้าวที่มีปริมาณน้อยๆ
๓. การใช้เครื่องสีฝัด เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้หลักการให้ลมพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป โดยใช้แรงคนหมุนพัดลมในเครื่องสีฝัดนั้น พัดลมนี้อาจใช้เครื่องยนต์เล็ก ๆ หมุนก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทำความสะอาดเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

การตากข้าว
เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานาน ๆ หลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดแล้ว จึงจำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทั้งนี้เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่แห้ง และมีความชื้นของเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดข้าวในยุ้งฉางที่มีความชื้นสูงกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม นอกจากนี้จะทำให้เชื้อราต่าง ๆ ที่ติดมากับเมล็ดขยายพันธุ์ได้ดี จนสามารถทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก การตากข้าวในระยะนี้ ควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ ๓-๔ แดด ในต่างประเทศเขาใช้เครื่องอบข้าว เพื่อลดความชื้นในเมล็ด ซึ่งเรียกว่า drier โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน

การเก็บรักษาข้าวหลังจากชาวนาได้ตากเมล็ดข้าวจนแห้ง และมีความชื้นในเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% แล้วนั้น ชาวนาก็จะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อไว้บริโภคละแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูง และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี โดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอก ข้าวพวกนี้ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอย่างน้อย ๑ เมตร อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่ว และสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางจำเป็นต้องทำความสะอาดฉางเสียก่อน โดยปัดกวาดแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง

วิธีการทำนา


วิธีทำนาแบบต่างๆ

การทำนาข้าว หมายถึง การปลูกข้าว การปลูกข้าวในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น ๓ วิธีด้วยกัน ดังนี้


1.ข้าวไร่
การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกก็เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขามักจะไม่มีระดับ คือ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูกแล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ ๓ เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างประมาณ ๑ นิ้ว หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ ๒๕ x ๒๕ เซนติเมตร ระหว่างแถวและระหว่างหลุมภายในแถว ปกติจะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีหลังจากที่ได้เจาะหลุม โดยหยอด ๕-๘ เมล็ดต่อหลุม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วก็ใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน ก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน การปลูกข้าวไร่ ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย และมีปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

2.ข้าวนาดำ
การปลูกข้าวในนาดำ เรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้าเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า indirect seeding ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

2.1การเตรียมดิน
การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวแบบปักดำ ต้องทำการเตรียมดินดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัว ควาย หรือแทร็กเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่าควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำนั้นได้มีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ขนาดแปลงละ ๑ ไร่หรือเล็กกว่านี้ คันนามีไว้สำหรับกักเก็บน้ำ หรือปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะทำการไถจะต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อน ปกติจะต้องรอให้ฝนตกจนมีน้ำขังในผืนนา หรือไขน้ำเข้าไปในนาเพื่อทำให้ดินเปียก

2.2 การตกกล้าการตกกล้า หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอก และเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า เพื่อเอาไปปักดำ การตกกล้าสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันคือ
2.21 การตกกล้าในดินเปียก
การตกกล้าในดินเปียก จะต้องเลือกหาพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดีเป็นพิเศษ สามารถป้องกันนกและหนูที่จะเข้าทำลายต้นกล้าได้เป็นอย่างดี และมีน้ำพอเพียงกับความต้องการ การเตรียมดินก็มีการไถดะ ไถแปร และคราด ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ต้องยกเป็นแปลงสูงกว่าระดับน้ำในผืนนานั้นประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เมล็ดที่หว่านลงไปจมน้ำและดินนั้นเปียกชุ่มอยู่เสมอด้วย จะเป็นการดียิ่งขึ้นถ้าแปลงนี้ได้แบ่งออกเป็นแปลงย่อยขนาดกว้าง ๕๐ เซนติเมตร และมีความยาวขนานไปกับทิศทางลม ระหว่างแปลงเว้นช่องว่างไว้สำหรับเดินประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นกล้าถูกทำลายโดยโรคไหม้หรือแมลงบางชนิด เมล็ดพันธุ์ที่เอามาตากกล้าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จะต้องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์เสียก่อน โดยแยกเอามาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ และเอาเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าปกติทิ้งไปเอาเมล็ดที่ต้องการตกกล้าใส่ถุงผ้าไปแช่ในน้ำนาน ๑๒-๒๔ ชั่วโมง แล้วเอาขึ้นมาวางไว้บนแผ่นกระดานในที่ที่มีลมถ่ายเทได้สะดวก และเอาผ้าหรือกระสอบเปียกน้ำคลุมไว้นาน ๓๖-๔๘ ชั่วโมง ซึ่งเรียกว่าการหุ้ม หลังจากที่ได้หุ้มเมล็ดไว้ครบ ๓๖-๔๘ ชั่วโมงแล้ว เมล็ดข้าวก็จะงอก จึงเอาไปหว่านลงบนแปลงกล้าที่ได้เตรียมไว้ ก่อนที่จะหว่านเมล็ดลงบนแปลงกล้า ควรใส่ปุ๋ยพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเสียก่อน และใช้ไม้กระดานลูบแปลงเพื่อกลบปุ๋ยลงไปในดิน หากดินดีอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ปกติใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน ๔๐-๕๐ กิโลกรัมต่อเนื้อที่แปลงกล้าหนึ่งไร่ เมื่อต้นกล้ามีอายุครบ ๒๕-๓๐ วัน นับจากวันหว่านเมล็ด ต้นกล้าก็จะมีขนาดโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ การตกกล้าแบบนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในการทำนาดำในประเทศไทย

2.22 การตกกล้าในดินแห้ง
การตกกล้าในดินแห้ง ในกรณีที่ชาวนาไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการตกกล้าในดินเปียก ชาวนาอาจทำการตกกล้าบนที่ดินซึ่งไม่มีน้ำขัง โดยเอาเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่ยังไม่ได้เพาะให้งอก ไปโรยไว้ในแถวที่เปิดเป็นร่องเล็ก ๆ ขนาดแถวยาวประมาณ ๑ เมตร จำนวนหลายแถว แล้วกลบด้วยดินเพื่อป้องกันนกและหนู หลังจากนั้นก็รดน้ำแบบรดน้ำผักวันละ ๒ ครั้ง เมล็ดก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้นกล้าเหมือนกับการตกกล้าในดินเปียก ปกติใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน ๗-๑๐ กรัมต่อหนึ่งแถวที่มีความยาว ๑ เมตร และแถวห่างกันประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินแล้ว ควรหว่านปุ๋ยพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสลงไปด้วย

2.23 การตกกล้าแบบดาปกการตกกล้าแบบดาปก การตกกล้าแบบนี้เป็นที่นิยมทำกันมาก ในประเทศฟิลิปปินส์ ขั้นแรกทำการเตรียมพื้นที่ดินเหมือนกับการ ตกกล้าในดินเปียก แล้วยกเป็นแปลงสูงกว่าระดับน้ำ ๕-๑๐ เซนติเมตร หรือใช้พื้นที่ดอนเรียบหรือเป็นพื้นคอนกรีต ก็ได้ แล้วใช้กาบของต้นกล้วยต่อกันเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑ เมตร และยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ต่อจากนั้นเอาใบกล้วยที่ไม่มีก้านกลางวางเรียงเพื่อปู เป็นพื้นที่ในกรอบนั้น ให้เอาด้านล่างของใบหงายขึ้นและไม่ให้มีรอยแตกของใบ เพราะฉะนั้นใบกล้วยที่ปูพื้นนั้นจะต้องวางซ้อนกันเป็นทอด ๆ แล้วเอา เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งได้เพาะให้งอกแต่ยังไม่มีรากโผล่ ออกมาโรยลงไปในกรอบที่เตรียมไว ้นี้ ใช้เมล็ดพันธุ์หนัก ๓ กิโลกรัมต่อเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ที่โรยลงไปในกรอบ จะซ้อนกันเป็น ๒-๓ ชั้น หลังจากโรยเมล็ดแล้ว จะต้องใช้บัวรดน้ำชนิดรูเล็กมาก รดลงในกรอบที่โรยเมล็ดนี้วันละ ๒-๓ ครั้ง ในที่สุดเมล็ดก็จะงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า ข้อสำคัญในการตกกล้าแบบนี้ คือ ต้องไม่ให้น้ำท่วมแปลงกล้า ต้นกล้าแบบนี้อายุประมาณ ๑๐-๑๔ วัน ก็พร้อมที่ใช้ปักดำได้หรือจะเอาไปปักดำกอละหลาย ๆ ต้น ซึ่งเรียกว่า ซิมกล้า เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งและโตสำหรับปักดำจริง ๆ ซึ่งนิยมทำกันมากในภาคเหนือของประเทศไทย การที่จะเอาต้นกล้าไปปักดำ ไม่จำเป็นต้องถอนต้นกล้าเหมือนกับวิธีอื่น ๆ เพราะรากของต้นกล้าเกาะกันแน่นระหว่างต้น และรากก็ไม่ได้ทะลุใบกล้วยลงไปในดิน ฉะนั้นชาวนาจึงทำการม้วนใบกล้วยแบบม้วนเสื่อ โดยมีต้นกล้าอยู่ภายในการม้วนก็ ควรม้วนหลวม ๆ แล้วขนไปยังแปลงนาที่จะปักดำ

2.3 ปักดำ
การปักดำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ ๒๕-๓๐ วัน จากการตกกล้าในดินเปียกหรือการตกกล้าในดินแห้ง ก็จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าแบบดาปกนั้น ในเมืองไทยยังไม่เคยปฏิบัติ คิดว่าจะต้องมีอายุประมาณ ๒๐ วัน จึงเอาไปปักดำได้ เพราะต้นกล้าขนาด ๑๐-๑๔ วันนั้น อาจมีขนาดเล็กเกินไปที่จะใช้ปักดำในพื้นที่นาของเรา ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัด ๆ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้ง สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียก จะต้องสลัดเอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วย แล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้ในเมื่อนานั้นไม่มีน้ำอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนานั้นลึกมาก ต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และทำให้ต้นข้าวจะต้องยึดต้นมากกว่าปกติ จนมีผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่จะให้ได้ผลผลิตสูง จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร โดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้าจำนวน ๓-๔ ต้นต่อกอ ระยะปลูกหรือปักดำ ๒๕ x ๒๕ เซนติเมตร ระหว่างกอและระหว่างแถว


3.ข้าวนาหว่าน
การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงไปในพื้นที่นาที่ได้ไถเตรียมดินไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า direct seeding การเตรียมดินก็มีการไถดะและไถแปร ปกติชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีค้นนากั้น จึงสะดวกแก่การไถด้วยรถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวนาจำนวนมากที่ใช้ แรงวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านน้ำตม


หลังจากทำการปลูกข้าวแล้ว ยังมีขั้นตอนอื่นๆที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
การดูแลรักษาต้นข้าว
ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำ ต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระยะนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้ามาทำลายต้นข้าว โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตาย หรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้ว จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาที่ดีอีกด้วย ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆ ในแปลงที่ปลูกข้าวไร่ จะต้องมีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย และพ่นยาเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้ ในแปลงกล้าและแปลงปักดำ จะต้องมีการใส่ปุ๋ย มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของต้นข้าว และพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว นอกจากนี้ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว ในพื้นที่นาหว่าน ชาวนาจะต้องกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีพ่น หรือใช้แรงคนถอนทิ้งไปก็ได้ นอกจากนี้จะต้องพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงอีกด้วย เนื่องจากพื้นที่นาหว่านมักจะมีระดับน้ำลึกกว่านาดำ ฉะนั้น ชาวนาควรใส่ปุ๋ยก่อนที่น้ำจะลึก ยกเว้นในพื้นที่ที่น้ำไม่ลึกมาก ก็ให้ใส่ปุ๋ยแบบนาดำทั่ว ๆ ไป

การเก็บเกี่ยวข้าว
เมื่อดอกข้าวได้บานและมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ ภายในที่ห่อหุ้มด้วย lemma และ palea ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว ในสัปดาห์ที่สองแป้งเหลวนั้นก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็ง และในสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัวมากยิ่งขึ้นเป็นรูปร่างของเมล็ดข้าวกล้อง แต่มันจะแก่เก็บเกี่ยวได้ ในสัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสร จึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เมล็ดข้าวจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ชาวนาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวทีละหลาย ๆ รวง ส่วนชาวนาในภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียววงกว้าง ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนซึ่งได้ปลูกไว้แบบปักดำ แต่ถ้าผู้ใช้มีความชำนาญก็อาจเอาไปใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองก็ได้ ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมือง ซึ่งได้ปลูกไว้แบบหว่าน ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวที่เกี่ยวมาจะถูกรวบมัดเป็นกำ ๆ ส่วนข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะชาวนาต้องเกี่ยวเฉพาะรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำๆ ข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขาย หรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาจนหมดซัง เพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา ๓-๕ วัน สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กันเป็นเวลา ๕-๗ วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงขนมาที่ลานสำหรับนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้

การนวดข้าว
การนวดข้าว หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง แล้วทำความสะอาดเพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางข้าวออกไป เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือกที่ต้องการเท่านั้น ขั้นแรกจะต้องขนข้าวที่เกี่ยวจากนาไปกองไว้บนลานสำหรับนวด การกองข้าวสำหรับนวดก็มีหลายวิธี แต่หลักสำคัญมีอยู่ว่าการกองจะต้องเป็นระเบียบ ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวจะอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและคุณภาพต่ำ ปกติจะกองไว้เป็นรูปวงกลมชาวนามักจะนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา ๕-๗ วัน ซึ่งเมล็ดข้าวเปลือกมีความชื้นประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดที่ได้เกี่ยวมาใหม่ ๆ จะมีความชื้นประมาณ ๒๐-๒๕% การนวดข้าวก็ใช้แรงสัตว์ เช่น วัว ควาย ขึ้นไปเหยียบย่ำเพื่อขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าว รวงข้าวที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว เรียกว่า ฟางข้าว ที่กล่าวนี้เป็นวิธีหนึ่งของการนวดข้าว ซึ่งที่จริงแล้วการนวดข้าวมีหลายวิธี เช่น การนวดแบบฟาดกำข้าว การนวดแบบใช้คำย่ำ การนวดแบบใช้ควายย่ำ การนวดโดยใช้เครื่องทุ่นแรงย่ำ

การทำความสะอาดเมล็ดข้าว
การทำความสะอาดเมล็ดข้าวหมายถึง การเอาข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่น ๆ ซึ่งทำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
๑. การสาดข้าว ใช้พลั่วสาดเมล็ดข้าวขึ้นไปในอากาศ เพื่อให้ลมที่ได้จากการกระพือพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป ส่วนเมล็ดข้าวเปลือกที่ดีก็จะตกมารวมกันเป็นกองที่พื้น
๒. การใช้กระด้งฝัด โดยใช้กระด้งแยกเมล็ดข้าวดีและสิ่งเจือปนให้อยู่คนละด้านของกระด้ง แล้วฝัดเอาสิ่งเจือปนทิ้ง วิธีนี้ใช้กับข้าวที่มีปริมาณน้อยๆ
๓. การใช้เครื่องสีฝัด เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้หลักการให้ลมพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป โดยใช้แรงคนหมุนพัดลมในเครื่องสีฝัดนั้น พัดลมนี้อาจใช้เครื่องยนต์เล็ก ๆ หมุนก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทำความสะอาดเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

การตากข้าว
เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานาน ๆ หลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดแล้ว จึงจำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทั้งนี้เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่แห้ง และมีความชื้นของเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดข้าวในยุ้งฉางที่มีความชื้นสูงกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม นอกจากนี้จะทำให้เชื้อราต่าง ๆ ที่ติดมากับเมล็ดขยายพันธุ์ได้ดี จนสามารถทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก การตากข้าวในระยะนี้ ควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ ๓-๔ แดด ในต่างประเทศเขาใช้เครื่องอบข้าว เพื่อลดความชื้นในเมล็ด ซึ่งเรียกว่า drier โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน

การเก็บรักษาข้าวหลังจากชาวนาได้ตากเมล็ดข้าวจนแห้ง และมีความชื้นในเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% แล้วนั้น ชาวนาก็จะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อไว้บริโภคละแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูง และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี โดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอก ข้าวพวกนี้ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอย่างน้อย ๑ เมตร อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่ว และสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางจำเป็นต้องทำความสะอาดฉางเสียก่อน โดยปัดกวาดแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง