ยินดี...ต้อนรับ
เข้าสู่
การทำนา
การใช้สารกำจัดวัชพืช
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
-:- เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา -:- เครื่องมือทำนาแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะคล้ายกันในแทบทุกภาค โดยจะแตกต่างกันบ้างในวัสดุที่ทำจากท้องถิ่น การตกแต่งลวดลายและมีชื่อเรียกแตกต่างกัน หรืออาจมีเครื่องมือที่มีลักษณะเฉพาะที่นิยมใช้แต่ในภูมิภาคเท่านั้น เราสามารถแบ่งเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาออกเป็นเครื่องมือพื้นบ้านและเครื่องมือแบบสมัยใหม่ 1.เครื่องมือพื้นบ้าน
|
เครื่องมือในการแปรรูปข้าว | ||
ครกซ้อมมือ | ใช้สำหรับตำข้าวเปลือก จากข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง จากข้าวกล้องเป็นข้าวสาร | |
ครกกระเดื่อง | ใช้ตำขาวโดยใช้ปลายเท้าเหยียบกระเดื่องให้สากกระดกขึ้นลง | |
กระด้ง | ใช้ฝัดร่อนข้าวเอาเศษผงฝุ่นแกลบออกจากเมล็ดข้าว | |
ตะแกรง | ใช้สำหรับร่อนแยกเศษฟางออกจากเมล็ดข้าว | |
2.เครื่องมือทำนาแบบสมัยใหม่ | ||
เครื่องมือเครื่องใช้ในระยะเตรียมดิน | ||
รถไถนา | ใช้ได้ทั้งเตรียมดินนาหว่านและนาดำและคราด | |
รถแทรกเตอร์ | เครื่องเตรียมดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่หรือหักร้างถางพง | |
เครื่องปักดำ | ใช้แทนการปักดำด้วยแรงงานคน เครื่องมือชนิดนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก | |
เครื่องสูบน้ำ | เครื่องสูบน้ำเข้านาโดยใช้เครื่องยนต์หรือไฟฟ้าเป็นแรง หมุนมอเตอร์สูบจากแม่น้ำ คลองชลประทานมาใช้ในนา | |
เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกี่ยวข้าว | ||
รถเกี่ยวและนวดข้าว | ใช้สำหรับเกี่ยวและนวดข้าวไปพร้อมๆ กัน เป็น รถแบบตีนตะขาบวิ่งได้ในนาที่มีพื้นที่เรียบ | |
เครื่องนวดข้าว | ใช้เครื่องยนต์ในการนวดข้าวให้ย่อยจากรวงเป็นเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อต้องการนวดข้าว ก็เอาเครื่องยนต์จากรถไถนาเดิมมาหมุนตามเครื่องนวดและสามารถใช้กระสอบหรือผืนผ้าใบมารองรับเมล็ดจากเครื่อง | |
เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าว | ||
เครื่องสีข้าว | เครื่องสีข้าวใช้สำหรับสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารและออกมาเป็นแกลบและรำ |
การทำนาข้าวให้ได้ผลผลิตสูงสุด |
การให้ปุ๋ย และเตรียมดินอย่างถูกวิธี จะทำให้ผลผลิตของข้าวเกิน 100 ถังต่อไร่ การปลูกข้าวกลุ่มไม่ไวแสง(อายุข้าว 100 วัน) ในที่นาดินเหนียว ตามหลักวิชาการแล้ว เกษตรกรควรให้ปุ๋ยต่างๆ ตามระยะดังนี้ -ครั้งแรก ช่วงข้าวอายุ 20-30 วัน ควรให้ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ทั้งนี้กลุ่มไนโตรเจนจะกระตุ้นให้ข้าวเจริญเติบโต และฟอสฟอรัส ในปุ๋ยจะกระตุ้นให้ข้าวมีการแตกกอมากขึ้น ในอัตรา 15-25 กิโลกรัม/ไร่ -ครั้งที่ 2 ข้าวอายุ 2 เดือน (ก่อนตั้งท้อง) ควรให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน 46-0-0 หรือ 30-0-0 เพื่อให้ข้าวใช้เป็นแหล่งอาหารสะสมในการสร้างรวง ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ -ครั้งที่ 3 ข้าวออกรวง ช่วง หางปลาทู ควรให้ปุ๋ย กลุ่มไนโตรเจน 46-0-0 หรือ 30-0-0 เพื่อให้ข้าวเมล็ดเต็ม ลดเม็ดลีบลง ในอัตรา 10-15 กิโลกรัม/ไร่ แต่ในทางปฏิบัตินั้น เกษตรกรทราบดีว่า การให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน ในช่วงข้าวตั้งท้องและออกรวง เหมือนเป็นดาบสองคม เพราะการให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนจะทำให้ลำต้นอวบน้ำ และผนังเซลบาง ทำให้โรคและแมลงเข้าทำลาย ต้นข้าว แทนที่จะได้ผลผลิตสูงขึ้น อาจจะกลายเป็นผลผลิตลดลง หรือ อาจทำให้ต้นข้าวตายหากการควบคุม โรคและแมลง ไม่กระทำอย่างรัดกุม ทางออกของปัญหาดังกล่าวคือการให้แอ๊กทีฟซิลิกอนกับต้นข้าวด้วย เพราะหลังจากได้รับแอ๊กทีฟซิลิกอน ต้นข้าวจะแข็งแรง ผนังเซลหนา ทำให้ เกษตรกรให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน โดยไม่ทำอันตรายต่อต้นข้าว โดยเกษตรกร สามารถ ใช้แอ๊กทีฟซิลิกอนร่วมกับปุ๋ย ได้ดังนี้ 1.เกษตรกร ควรใส่ปุ๋ยปรับปรุงดิน ที่มีอินทรีย์วัตถุสูงๆ หรือปุ๋ยอินทรีย์ ในช่วงเตรียมพื้นนา ในอัตรา 15-25 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อให้ดินอุ้มน้ำ และระบายกากาศได้ดี ประกอบกับปุ๋ยกลุ่ม อินทรีย์ ต้องใช้เวลาการย่อยสลาย จึงต้องเริ่มหมักไว้ก่อนปุ๋ยตัวอื่น 2.ฉีดพ่น แอ๊กทีฟซิลิกอน อัตรา 50-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ครั้งแรกหลังใช้ยาฆ่าหญ้า หรือ เมื้อข้าวอายุ 20 วัน ในกรณี นาดำ ให้ใช้ แอ๊กทีฟซิลิกอน อัตรา 20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร รดกล้าก่อนการปักดำ 2-3 วัน 3.เมื่อข้าวอายุ 1 เดือน ให้ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ผสมกับ 46-0-0 ในอัตราส่วน 2:1 โดยหว่านในอัตรา 20-30 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยสูตร 16-20-0 มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแตกกอ และสร้างระบบรากที่ดีให้กับข้าว 4. หลังการหว่านปุ๋ยครั้งแรก ฉีดพ่นแอ๊กทีฟซิลิกอน อัตรา 100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับต้นข้าว ซึ่งอาจมีโรคและแมลงเข้าทำลายจากการให้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จากนั้น อีก 2 อาทิตย์ให้ฉีดพ่นแอ็กทีฟ ซิลิกอน อีกครั้งในอัตรา 150 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เพื่อเสริมปริมาณซิลิกอนในต้นข้าวให้เพียงพอ ก่อนให้ปุ๋ยครั้งต่อไป เกษตรกรควรหมั่นสังเกตุดูการระบาดของแมลง ซึ่งจะเห็นปริมาณแมลงเจาะน้ำเลี้ยงลดลงอย่างเห็นได้ชัด 5. ก่อนข้าวตั้งท้อง 1 อาทิตย์ (อายุข้าวประมาณ 50-70 วัน) เกษตรกรควรสังเกตุดูความแข็งแรงของต้นข้าว กลุ่มที่ได้รับแอ๊กทีฟซิลิกอนจะมีใบแข็ง กาบใบแข็ง ซึ่งเป็นสภาพที่สามารถให้ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจนได้ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยสูตร 30-0-0 หรือ 46-0-0 ในอัตรา 15-25 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อให้ต้นข้าว มีปริมาณสารอาหารสะสมมากพอ ในการสร้างรวงและเมล็ด การให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 นี้ ถ้าโครงสร้างของต้นข้าวไม่แข็งแรง จะทำให้ใบตก จนเป็นเป้าทำลายของโรค และแมลง การให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 นี้ มีความสำคัญมากกับผลผลิตข้าวที่ได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากผลผลิตต่อไร่ที่สูง ข้าวจะต้องมีจำนวนเมล็ดต่อรวงมาก ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดจำนวนเมล็ดต่อรวงของข้าว ก็คือความสมบูรณ์ ของสารอาหารต่างๆในต้นข้าว ก่อนที่ต้นข้าวจะท้อง(ต้นกลม) นั้นคือปุ๋ยหรือธาตุอาหารต่างๆ จะต้องให้กับพืชก่อนที่ข้าวจะตั้งท้อง เพราะเมื่อข้าวต้นกลมแล้วเหมือนต้นข้าวได้ถูกโปรแกรมไปแล้วว่าจะมีจำนวนเมล็ดต่อรวงเท่าไร การให้ปุ๋ยไปจะไม่สามารถเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวงได้ เพียงแต่เพิ่มน้ำหนักต่อเมล็ด และลดจำนวนเมล็ดลีบลงเท่านนั้น ฉะนั้นเกษตรกรทราบอายุช่วงที่ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง ของสายพันธ์ที่ปลูก หรือโดยทั่วไป อาจประเมินได้ว่า ข้าวจะเริ่มตั้งท้องก่อนวันที่เก็บเกี่ยว 40 วัน และต้องระลึกว่า ต้องหว่านปุ๋ยก่อนข้าวตั้งท้องอย่างน้อย 7 วัน 6.หลังจากหว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 ให้เกษตรกร ฉีดแอ๊กทีฟซิลิกอน อีกครั้ง ในอัตรา 250-300 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้เพื่อให้ต้นข้าวมีผนังเซลที่หนาขึ้น และกระตุ้นการสังเคราะห์แสง เพราะการสังเคราะห์แสงที่มาก จะทำให้ ระบบรากดูดอาหารมากขึ้นด้วย เพื่อให้ข้าวใช้ปุ๋ย อย่างมีประสิทธิภาพ 7.เกษตรกร ควรสังเกตุ โรคและแมลง ต่างๆ ภายในแปลงนา โดยปกติ ข้าวที่มีปริมาณซิลิกอนสะสม ในลำต้นมากพอ โรคกลุ่มที่เกิดจากเชื้อราจะน้อยมาก และปริมาณเแมลงในนาจะน้อยลง หากแต่ว่าในพื้นที่ ที่มีการระบาดของแมลง อาจต้องใช้ ยาฆ่าแมลงช่วยกำจัด 8.หลังจากข้าวออกรวงแล้วกำลังสร้างแป้ง เกษตรกรควรให้ปุ๋ยอีก ครั้งที่3 ให้ใส่ ยูเรีย หรือ 30-0-0 ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ลักษณะการให้ครั้งนี้ เกษตรกรควหว่านปุ๋ยบางๆ และอาจจะให้ปริมาณมากหน่อย ในบริเวณที่ต้นข้าวไม่สมบูรณ์ เพื่อเพิ่มน้ำหนักเมล็ด หรือหากต้นข้าวสภาพสมบูรณ์ดี สม่ำเสมอทั่วทั้งนา เกษตรกรอาจ งดให้ปุ๋ยครั้งที่ 3 ก็ได้ 9. หลังให้ปุ๋ยครั้งที่ 3 หรือก่อนระยะเก็บเกี่ยว 20 วัน เกษตรกร ควรฉีด แอ๊กทีฟซิลิกอน อีกครั้ง ในอัตรา 200 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้เนื่องจาก แอ๊กทีฟซิลิกอน มีส่วนผสมของโปแตสเซียมไอออน ซึ่งช่วยกระตุ้นการสร้างแป้ง การฉีดแอ็กทีฟซิลิกอนที่ระยะนี้จะทำให้เมล็ดใส และลดปริมาณท้องไข่ในเมล็ดข้าว |
การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดย นายประพาส วีระแพทย์
ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกสิกร ทำการเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ทำการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ส้ม มะม่วง มังคุด ลางสาด นอกจากนี้ ในท้องที่ต่าง ๆ ของภาคใต้และจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ได้ทำการปลูกยางพาราอีกด้วย ในจำนวนพืชที่กสิกรปลูกดังกล่าวนี้ ข้าวมีพื้นที่ปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ ๑๑.๓% ของพื้นที่ทั่วประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ทำนามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ภาคเหนือและภาคใต้ตามลำดับ จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในตารางที่ ๑
เนื่องจากประชาชนในประเทศไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก และจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ด้วยเหตุนี้ ชาวนาจึงจำเป็นต้องพยายามปลูกข้าวให้ได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของประชากร วิธีหนึ่งที่ชาวนาได้พยายามเพื่อเพิ่มผลิตผล ได้แก่ การขยายพื้นที่ทำนา โดยเปิดป่าใหม่ทำนาปลูกข้าว จากตารางที่ ๓ จะเห็นได้ว่าผลิตผลได้เพิ่มขึ้นตามพื้นที่นาที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ส่วนวิธีการเพิ่มผลิตผลโดยวิธีอื่นนั้น ชาวนาไม่สามารถทำได้ เช่น การคัดเลือกหาพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลิตผลสูง พันธุ์ต้านทานโรคและแมลง ข้าวพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ย วิธีการป้องกันกำจัดโรค แมลง และวัชพืชในนาข้าว ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือชาวนา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้โดยตรง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้าวที่ปลูกเพื่อการบริโภคเป็นอาหารมี ๒ ชนิด คือ ออไรซา ซาไทวา ซึ่งมีปลูกทั่วไปในทุกประเทศ และออไรซา แกลเบอร์ริมา ซึ่งมีปลูกเฉพาะในแอฟริกาเท่านั้น ข้าวสองชนิดนี้แตกต่างกันที่ ออไรซา แกลเบอร์ริมาไม่มีแขนงที่สองที่รวงข้าว และมีเยื่อกันน้ำฝนสั้นกว่าออไรซา ซาไทวาด้วย ข้าวพวกออไรซา ซาไทวา ยังแยกออกได้เป็นอินดิคา มีปลูกมากในเขตร้อน และจาปอนิคา มีปลูกมากในเขตอบอุ่น ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวกอินดิคา ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ตารางที่ ๓ เนื้อที่เพาะปลูกและจำนวนผลิตผลข้าวเปลือกในประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๗๑
๑ รวบรวมจากเอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ ๒๑๓ พ.ศ.๒๕๒๗ |
|
ภาคเหนือ
ทำการปลูกข้าวนาสวนในที่ราบระหว่างภูเขากันเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีระดับน้ำในนาตื้นกว่า ๘๐ เซนติเมตร และทำการปลูกข้าวไร่ในที่ดอน และที่สูงบนภูเขา เพราะไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ส่วนมากชนิดของข้าวที่ปลูกเป็นทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า และในบางท้องที่มีการปลูกข้าวนาปรังด้วย แมลง ศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่ แมลงบั่ว หนอนกอ เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและสีน้ำตาล และโรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีแสด และโรคถอดฝักดาบ ภาคนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินนาดีกว่าภาคอื่น ๆ ข้าวนาปีทำการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
[กลับหัวข้อหลัก] |
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพของพื้นนาในภาคนี้เป็นที่ราบ และมักจะแห้งแล้งในฤดูปลูกข้าวเสมอ ๆ ชาวนาทำการปลูกข้าวนาสวน ทางตอนเหนือของภาคปลูกข้าวเหนียวอายุเบา ส่วนทางตอนใต้ปลูกข้าวเจ้าอายุหนักแถบริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดอุบลราชธานี นครพนมและสกลนครได้มีแมลงบั่วทำลายต้นข้าวนาปีจนเสียหายเสมอ นอกจากนี้ ได้มีแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดด้วย โรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบจุดสีน้ำตาล ความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคนี้เลวมาก บางแห่งก็เป็นดินเกลือและมักจะมีความแห้งแล้งกว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการทำนาปรังน้อยมาก ข้าวนาปีจะทำการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม
[กลับหัวข้อหลัก] |
|
ภาคกลาง
พื้นที่ทำนาในภาคนี้เป็นที่ราบลุ่มทำการปลูกข้าวเจ้ากันเป็นส่วนใหญ่ ในเขตจังหวัดปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุพรรณบุรี และปราจีนบุรี ระดับน้ำในนาระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายน จะลึกประมาณ ๑-๓ เมตร ด้วยเหตุนี้ ชาวนาในจังหวัดดังกล่าวจึงต้องปลูกข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ นอกนั้น ปลูกข้าวนาสวน และบางท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน เช่น จังหวัดนนทบุรี นครปฐม เพชรบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท และฉะเชิงเทรา ได้มีการทำนาปรังด้วย โรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม โรคจู๋ และแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่ แมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงเพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงหนอนกอ ความอุดมสมบูรณ์ของดินดีปานกลางและบางท้องที่เขตจังหวัดปทุมธานี นครนายก และปราจีนบุรี ดินที่ปลูกข้าวมีฤทธิ์เป็นกรดหรือ เป็นดินเหนียวมากกว่าในท้องที่นาอื่น ๆ ข้าวนาปีที่ปลูกเป็นข้าวนาสวน จะเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม ส่วนข้าวนาปีที่ปลูกเป็นข้าวนาเมืองเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนธันวาคมและมกราคม
[กลับหัวข้อหลัก] |
|
ภาคใต้
สภาพพื้นที่ที่ปลูกข้าวในภาคใต้เป็นที่ราบริมทะเล และเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนในการทำนา ทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนเร็วกว่าทางฝั่งตะวันออก และฝนจะมาล่าช้ากว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ การทำนาในภาคใต้จึงล่าช้ากว่าภาคอื่น ชาวนาในภาคนี้ ปลูกข้าวเจ้าในฤดูนาปีกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยในเขตชลประทานของจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา มีการปลูกข้าวนาปรังและปลูกแบบนาสวน บริเวณพื้นที่ดอนและที่สูงบนภูเขาชาวนาปลูกข้าวไร่ เช่น การปลูกข้าวไร่เป็นพืชแซมยางพารา แมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกอ เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคดอกกระถิน โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบจุดขีดสีน้ำตาล นอกจากนี้ ดินนาก็มีปัญหาเกี่ยวกับดินเค็มและดินเปรี้ยวด้วย วิธีการเกี่ยวข้าวในภาคใต้แตกต่างไปจากภาคอื่น เพราะ ชาวนาใช้แกระเกี่ยวข้าวโดยเก็บทีละรวงแล้วมัดเป็นกำ ๆ ปกติทำการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนพฤศจิกายน และกุมภาพันธ์
[กลับหัวข้อหลัก] |
|